บทความ

ขอขอบพระคุณที่ไว้วางใจให้เราได้ดูแลน้องนะคะ ศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์นนทรี บางเขน โทร.02-955-7845 / 02-955-7846

รีวิว (Review) โรงพยาบาลสัตว์นนทรี (Nontri Pet Hospital)

โรงพยาบาลสัตว์ชั้นนำระดับประเทศไทย โรงพยาบาลสัตว์นนทรี เป็นสถานพยาบาลสัตว์เอกชน ก่อตั้งมายาวนานถึง 18 ปี ขึ้นชื่อเป็นศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ ด้านการรักษาโรคหัวใจสัตว์เลี้ยงครบวงจรได้มาตรฐาน อยู่ย่านวงเวียนบางเขน ฝั่งเดียวกับโลตัสหลักสี่สะพานใหม่ บรรยากาศภายในอาคาร สะอาด น่าอยู่ มีเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับและให้คำแนะนำสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง หากเดินเข้ามาภายในโรงพยาบาล ชั้น 1 จะให้บริการตรวจรักษาโรคอายุรกรรมทั่วไป ชั้น 2 จะเป็นส่วนของเจ้าหน้าที่ธุระการ ,ฝ่ายบุคคล ,ฝ่ายการตลาด ชั้น 3 เราจะออกแบบมาเพื่อรับฝากสัตว์เลี้ยง โดยจะมีจำนวนกรงทั้งหมด44 กรง มีเจ้าหน้าที่ Vet-tech และสัตว์แพทย์ดูแลสัตว์ฝากเลี้ยง ตลอด 24 ชม. ชั้น 4 จะตรวจและให้บริการศูนย์โรคต่างๆ เช่น - ศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง - ศูนย์โรคระบบประสาท - ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและต่อมไร้ท่อ - ศูนย์โรคเบาหวานและตับ - ศูนย์โรคเลือด - ศูนย์โรคผิวหนัง ชั้น 5 จะเป็น Lab ตรวจเลือด เพื่อจะได้รับการรักษา วิเคราะห์ผลเลือด ผลการตรวจ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ เราคือ ...ศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย . ‪#‎ที่ตั้ง‬ : 66/131-132 หมู่บ้านราชตฤณมัย ถนนพหลโยธิน. แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 (ย่านวงเวียนบางเขน /ใกล้โลตัสหลักสี่) . ‪ #‎เปิดให้บริการเวลา‬ 09:00-24:00 น ‪ #‎สอบถามเข้ามาได้ที่‬ 02-955-7845, 02-955-7846 . ‪#‎ติดตามเราได้ที่‬ Facebook : โรงพยาบาลสัตว์นนทรี (บางเขน) Facebook : ศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง

โรงพยาบาลสัตว์ชั้นนำระดับประเทศไทย โรงพยาบาลสัตว์นนทรี เป็นสถานพยาบาลสัตว์เอกชน ก่อตั้งมายาวนานถึง 18 ปี ขึ้นชื่อเป็นศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ ด้านการรักษาโรคหัวใจสัตว์เลี้ยงครบวงจรและได้มาตรฐาน อยู่ย่านวงเวียนบางเขน ฝั่งเดียวกับโลตัสหลักสี่สะพานใหม่ บรรยากาศภายในอาคาร สะอาด น่าอยู่ มีเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับและให้คำแนะนำสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง หากเดินเข้ามาภายในโรงพยาบาล ชั้น 1 จะให้บริการตรวจรักษาโรคอายุรกรรมทั่วไป ชั้น 2 จะเป็นส่วนของเจ้าหน้าที่ธุระการ ,ฝ่ายบุคคล ,ฝ่ายการตลาด ชั้น 3 เราจะออกแบบมาเพื่อรับฝากสัตว์เลี้ยง โดยจะมีจำนวนกรงทั้งหมด44 กรง มีเจ้าหน้าที่ Vet-tech และสัตว์แพทย์ดูแลสัตว์ฝากเลี้ยง ตลอด 24 ชม. ชั้น 4 จะตรวจและให้บริการศูนย์โรคต่างๆ เช่น - ศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง - ศูนย์โรคระบบประสาท - ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและต่อมไร้ท่อ - ศูนย์โรคเบาหวานและตับ - ศูนย์โรคเลือด - ศูนย์โรคผิวหนัง ชั้น 5 จะเป็น Lab ตรวจเลือด เพื่อจะได้รับการรักษา วิเคราะห์ผลเลือด ผลการตรวจ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ เราคือ ...ศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย . ‪#‎ที่ตั้ง‬ : 35/131-132 หมู่บ้านราชตฤณมัย ถนนพหลโยธิน. แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 (ย่านวงเวียนบางเขน /ใกล้โลตัสหลักสี่) . ‪#‎เปิดให้บริการเวลา‬ 09:00-24:00 น ‪#‎สอบถามเข้ามาได้ที่‬ 02-955-7845, 02-955-7846 . ‪#‎ติดตามเราได้ที่‬ Facebook : โรงพยาบาลสัตว์นนทรี (บางเขน) Facebook : ศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง Facebook : คลินิกหมอรักแมว

#‎การวินิจฉัยโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง‬ 1. เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลจากผู้เลี้ยง และประวัติของสัตว์เลี้ยงโดยละเอียด เช่น อายุ เพศ สายพันธุ์ ลักษณะอาการที่ผิดปกติ 2.เข้าพบสัตวแพทย์ด้านโรคหัวใจเพื่อความแม่นยำ จากนั้นสัตวแพทย์จะ ทำการตรวจร่างกายโดยทั่วไป เช่น การดูสีเยื่อเมือก การหายใจ อัตราการหายใจ ฟังเสียงปอดและเสียงหัวใจ และจับชีพจร 3. การตรวจเอ็กซเรย์ช่องอก เพื่อดูขนาดของหัวใจ สภาพความผิดปกติ ของปอดและหลอดลม 4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)เพื่อตรวจการนำไฟฟ้าในหัวใจ ว่าปกติหรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ทำโดยให้น้องหมาน้องแมว นอนตะแคงแล้วใช้คลิปหนีบเบาๆ ที่ขา โดยใช้ระยะเวลาไม่นานมากค่ะ 5. การตรวจเลือด จะตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจหาภาวะหัวใจขาดเลือด (ในกรณีที่สุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ) ตรวจหาพยาธิในเลือด การทำงานของตับ ไต ต่อมไทรอยด์ น้ำตาลในเลือด และโรคพยาธิหนอนหัวใจ การตรวจแต่ละกรณี ขึ้นอยู่กับสัตว์แพทย์พิจารณาค่ะ 6. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(Echocardiography) เพื่อดูโครงสร้างภาย ในของหัวใจอย่างละเอียด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ วัดขนาดห้องหัวใจ วัดการ บีบตัวของหัวใจ และดูการไหลเวียนเลือดในหัวใจเป็นต้น โดยวิธีนี้ น้องหมาน้องแมว ไม่ต้องเจ็บ และไม่ต้องวางยาสลบค่ะ

การดูแลและการป้องกันน้องหมาที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคหัวใจเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่เราช่วยยืดระยะเวลาของชีวิตและทำให้คุณภาพชีวิตของน้องหมาดีขึ้นได้ ในน้องหมาที่เข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ควรประเมินสภาวะหัวใจเป็นประจำทุก 2-4 เดือน โดยการถ่ายภาพรังสี (เอ็กซเรย์) ช่องอก ตรวจเลือด เช่น ค่าไต โซเดียม โพแทสเซียม ฯลฯ และขณะอยู่บ้านเจ้าของต้องหมั่นสังเกตอาการต่างๆ เช่น การหายใจเป็นอย่างไร มีการหอบหรือไม่ ท้องกางขึ้นหรือไม่ นอนท่าราบได้มั้ย ไอมากขึ้นหรือไม่ค่ะ

ยากลุ่มที่ 4 คือยาขยายหลอดเลือด ได้แก่ Amlodipine ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยง ร่างกายดีขึ้น และช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วยค่ะ ในกรณี แสดงอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวในระดับรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ แบบนี้จำเป็นที่จะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล น้องหมาจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน ได้รับการพ่นยา ในรายที่ปวดบวมน้ำมากๆ ต้องได้รับยาขับน้ำเข้าทางเส้นเลือด ตลอดจนยาอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นด้วยค่ะ

ยาโรคหัวใจกลุ่มที่ 3 คือยาควบคุมการบีบตัวที่หัวใจ ได้แก่ Pimobendan ช่วยเพิ่มการบีบตัวของหัวใจให้แรงขึ้น ทั้งยังช่วยขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้ด้วย ส่วนอีกตัว คือ Digoxin ช่วยในการบีบตัวของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง และเป็นจังหวะดีขึ้น ใช้ในกรณี Atrial fibrillation และ Supraventricular tachycardia (SVT) ซึ่งก่อนให้ สัตว์ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนค่ะ

ยาโรคหัวใจสุนัข กลุ่มที่สองคือ ยาขับน้ำ ได้แก่ Furosemide, Hydrochlorthiazide และ Spironolactone (มีฤทธิ์ขับน้ำอ่อนๆ) ยาพวกนี้คุณหมออาจจะให้ป้อนวันละ 2-3 ครั้ง ขึ้นกับน้องหมาแต่ละตัว การให้ยาขับน้ำ น้องหมาจะปัสสาวะบ่อยขึ้น ร่างกายจะเสียโพแทสเซียม (K) ไปกับปัสสาวะจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องตรวจวัดระดับ K เป็นระยะๆ แต่สำหรับยาขับน้ำ Spironolactone นั้น จัดเป็น Potassium sparing diuretic จึงช่วยเก็บ K ไว้ได้ ทั้งยังช่วยลดการเกิด fibrosis ช่วยชะลอความเสื่อมของลิ้นหัวใจได้ค่ะ

ยาโรคหัวใจสุนัข กลุ่มแรกคือยาปรับความดัน กลุ่ม ACEI ได้แก่ Enalapril, Benazepril และ Ramipril ใช้ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ คุณหมออาจให้ป้อนวันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นกับน้องหมาแต่ละตัว ผลข้างเคียงอาจทำให้ไอแห้งๆ และแน่นหน้าอกเช่นเดียวกับในคนที่ใช้ยากลุ่มนี้ หากพบว่าน้องหมาไอหนักขึ้น จะต้องแจ้งคุณหมอด้วย นอกจากนี้ยาอาจส่งผลต่อไตได้ ดังนั้น ต้องมีการประเมินการทำงานของไตเป็นระยะๆ ค่ะ

น้องหมาที่เป็นโรคหัวใจ มักจะเกิดภาวะ Cardiac cachexia ได้ง่าย ซึ่งจะทำให้น้ำหนักตัวลดลงและซูบผอม เทคนิคการให้อาหาร คือ อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารที่มีกลิ่นดี ชวนน่ากิน หากเป็นอาหารเหลวหรือปรุงเองควรนำไปอุ่นก่อน ซึ่งช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้ เวลาให้ควรให้ปริมาณน้อยๆ แบ่งให้หลายๆ มื้อ ปัจจุบันมีอาหารสำหรับโรคหัวใจโดยเฉพาะจำหน่ายทั้งแบบเม็ดและกระป๋อง

อาหารสำหรับสุนัขป่วยด้วยโรคหัวใจ ควรเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียม (อาหารเค็ม) ต่ำ เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงและภาวะบวมน้ำ (Edema) นอกจากนี้ยังควรเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลาในรายที่ขาด เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี และเสริมทอรีนและแอล-คาร์เนทีนเพื่อช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ และที่สำคัญควรดื่มน้ำปริมาณมากๆ ให้เพียงพอกับความต้องการด้วย โดยเฉพาะในรายที่กินยาขับน้ำ

อาหารสำหรับสุนัขป่วยด้วยโรคหัวใจ ควรเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียม (อาหารเค็ม) ต่ำ เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงและภาวะบวมน้ำ (Edema) นอกจากนี้ยังควรเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลาในรายที่ขาด เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี และเสริมทอรีนและแอล-คาร์เนทีนเพื่อช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ และที่สำคัญควรดื่มน้ำปริมาณมากๆ ให้เพียงพอกับความต้องการด้วย โดยเฉพาะในรายที่กินยาขับน้ำ

อาหารสำหรับสุนัขป่วยด้วยโรคหัวใจ ควรเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียม (อาหารเค็ม) ต่ำ เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงและภาวะบวมน้ำ (Edema) นอกจากนี้ยังควรเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลาในรายที่ขาด เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี และเสริมทอรีนและแอล-คาร์เนทีนเพื่อช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ และที่สำคัญควรดื่มน้ำปริมาณมากๆ ให้เพียงพอกับความต้องการด้วย โดยเฉพาะในรายที่กินยาขับน้ำ

อาหารสำหรับสุนัขป่วยด้วยโรคหัวใจ ควรเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียม (อาหารเค็ม) ต่ำ เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงและภาวะบวมน้ำ (Edema) นอกจากนี้ยังควรเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลาในรายที่ขาด เสริมสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี และเสริมทอรีนและแอล-คาร์เนทีนเพื่อช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ และที่สำคัญควรดื่มน้ำปริมาณมากๆ ให้เพียงพอกับความต้องการด้วย โดยเฉพาะในรายที่กินยาขับน้ำ

โรคลิ้นหัวใจเสื่อม (Endocardiosis)

สุนัขที่มีโอกาสจะป่วยเป็นโรคหัวใจได้นั้นในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Poodle, Miniature Pinscher, Cavalier King Charles Spaniel มักพบปัญหาโรคสิ้นหัวใจรั่ว ขณะที่สุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น Dobermann Pinscher, Labrador Retriever, Great Dane และ Boxer มักเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่ชี้ชัดว่าสัตว์เลี้ยงเพศผู้ มักพบเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศเมีย

โรคหัวใจในสุนัขสามารถรักษาได้ทั้งวิธีการใช้ยาและการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การรักษาด้วยยา แต่สิ่งที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงควรจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็คือ ผู้เลี้ยงจะต้องมีวินัยในการให้ยาสุนัขอย่างสม่ำเสมอตรงเวลา และจะต้องพาสุนัขไปพบสัตว์แพทย์ตามนัด และควรจะให้สุนัขออกกำลังกายภายใต้การควบคุมของผู้เลี้ยงในปริมาณที่พอดี รวมไปถึงอีกสิ่งที่สำคัญคือ จะต้องควบคุมอาหารและน้ำให้มีปริมาณพอดีไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เพื่อให้สุนัขได้รับสารอาหารครบถ้วน และควบคุมไม่ให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ค่ะ

โรคหัวใจที่มักจะพบในสุนัข “สุขภาพดีเกิดขึ้นได้ที่ โรงพยาบาลสัตว์นนทรี ทุกวัน” “Daily best pet health care @ Nontri” . โรงพยาบาลสัตว์นนทรี พิกัด : ที่ตั้ง 35/131-132 หมู่บ้านราชตฤณมัย ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 GPS : 13.8818098,100.600719 โทรศัพท์ : 02-955-7845, 02-955-7846 Facebook : www.facebook.com/NontriPetHospital Website : nontripet.igetweb.com E-mail : nontri.vet2014@gmail.com

#Review #โรงพยาบาลสัตว์ชั้นนำระดับประเทศไทย

เยี่ยมชม ศูนย์โรคหัวใจสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์นนทรี

‪#‎โรคหัวใจในสุนัขและแมว‬

‪#‎โกลเดนรีทรีฟเวอร์‬ กับ ‪#‎โรคหัวใจ‬

‪#‎การวินิจฉัยโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง‬