โรคหัวใจที่มักจะพบในสุนัข “สุขภาพดีเกิดขึ้นได้ที่ โรงพยาบาลสัตว์นนทรี ทุกวัน” “Daily best pet health care @ Nontri” . โรงพยาบาลสัตว์นนทรี พิกัด : ที่ตั้ง 35/131-132 หมู่บ้านราชตฤณมัย ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 GPS : 13.8818098,100.600719 โทรศัพท์ : 02-955-7845, 02-955-7846 Facebook : www.facebook.com/NontriPetHospital Website : nontripet.igetweb.com E-mail : nontri.vet2014@gmail.com
สำหรับโรคหัวใจที่มักจะพบในสุนัขบ่อยๆ จะแบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ
1. โรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจ โดยมีการปิดไม่ดี ทำให้มีการรั่วไหลย้อนของเลือด ส่งผลทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบบ่อยในสุนัข
2. โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ อาการผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการหนาตัว (ซึ่งพบบ่อยในแมว) หรือที่เรียกว่า Hypertrophic Cardiomyopathy (HCM) หรือความผิดปกติกล้ามเนื้อหัวใจอีกชนิด คือผนังกล้ามเนื้อหัวใจบางกว่าปกติและมีความอ่อนแอ ที่เรียกว่า Dilated Cardiomyopathy (DCM) มีผลให้การบีบตัวของหัวใจลดลง (ซึ่งกรณีนี้มักพบในสุนัข) ในสุนัขหรือแมวจะเป็นตรงกันข้ามกัน
โรคหัวใจทั้งสองชนิด จะค่อยพัฒนาขึ้นโดยใช้ระยะเวลา แต่ผลในที่สุดคือ ก่อให้เกิดภาวะที่มีความรุนแรงต่อการทำงานของหัวใจที่เรียกว่า "หัวใจล้มเหลว" (Heart Failure) เกิดหัวใจวายและเสียชีวิตในที่สุด
ผู้เลี้ยงหลายคนอาจจะมีความกังวลว่าสุนัขของตัวเองจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ และถ้าเกิดเป็นแล้วต้องรักษายังไง และอีกหลายๆ ความกังวลที่เกิดขึ้น ... จริงๆ แล้วโรคหัวใจในสุนัขนั้นสามารถสังเกตอาการป่วยในขั้นเริ่มแรกได้ก่อนที่จะพาไปพบสัตวแพทย์ โดยอาการเบื้องต้นที่เราอาจจะตั้งข้อสงสัยได้ว่าสุนัขของเราจะป่วยเป็นโรคหัวใจก็คือ สุนัขจะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าที่ควรหรือที่เคย เช่นเดินขึ้นบันได วิ่งเล่นไม่กี่นาทีก็หอบมาก เหงือกซีดเขียวรวดเร็ว มีการไอ หายใจลำบาก ท้องบวมโตขึ้น หรือเรียกว่าท้องมาน เกิดลักษณะบวมน้ำที่อุ้งเท้าและขาหลัง บางครั้งอาจเกิดขึ้นใต้ผิวหนังทั่วไป หากคลำชีพจรดูจะพบว่ามีการเต้นเร็วมากแต่มักแผ่วเบาหรือบางรายก็เต้นแรงมากเกินปกติ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยค่ะว่าสุนัขของเราอาจจะป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่ ดังนั้นควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันทีเลยค่ะ
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจในสุนัขนั้น ในกรณีที่สุนัขไม่ได้เป็นโรคหัวใจมาตั้งแต่เกิด สาเหตุที่ทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจได้ในภายหลัง อาจจะเกิดจากปัจจัยในด้านอายุ สุนัขที่อายุมาก ย่อมมีโอกาสเรื่องเป็นโรคหัวใจสูงเช่นเดียวกับสุนัขที่อ้วนมากๆ หรือสุนัขสายพันธุ์ที่มีอัตราการออกกำลังกายหรือใช้งานที่หักโหม รวมไปถึงสุนัขที่มีปัญหาความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อต่างๆ อย่างรุนแรง โดยเฉพาะโรคติดเชื้อแบคทีเรีย พันธุกรรม ฯลฯ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น